วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

Ship Scale Story 3.2 : Method adds line and modify

Method adds line and modify

ผมขอแป่ะโป้งตอนนี้เอาไว้ก่อนนะครับ...เพระยังทำเนื้อหาไม่สมบูรณ์เลยยังไม่ได้เอามาลงให้อ่านกัน ( 17-Apr-2015)

หวัด-ดี คร๊าบบ ช้านานมากเลยสำหรับบทความนี้ กว่าจะคลอดออกมาได้เป็นเพราะผมเองยังไม่แน่ใจว่าเขียนออกมาแล้วจะเข้าใจกันมั้ยอ่ะคร๊าบบ
อืมมม...ต่อจากตอนที่แล้วที่จบลงตรง Table of Offsets ในการระบุ Table of Offsets (ต่อไปผมขอเรียกเป็น TOS นะครับ) จะแบ่งเป็นสองคอลัมน์ใหญ่ คอลัมน์แรกเป็นข้อมูลมาจากภาพ Profile Plan ส่วนคอลัมน์ที่สองเป็นข้อมูลมาจากภาพ Half Breadth Plan ซึ่งมาถึงตรงนี้ผมขอย้อนกลับไปพูดถึงตอนทำงานกันหน่อย

  • เราได้ข้อมูลเบื่องต้น(ได้พูดไว้แล้วใน Ship Scale Storyตอนที่3.1) ของภาพ Half Breadth Plan
  • เราได้ข้อมูลเบื่องต้นของภาพ Profile Plan
  • เราต้องนำข้อมูลทั้งสองภาพมาเขียนเป็นภาพ Body Plan เมื่อเสร็จเท่าที่กล่าวมานี้ยังไม่ถือว่าทำเสร็จนะคร๊าบบบ..ถือว่าได้องค์ประกอบของภาพมาครบเท่านั้นยังเอาไปทำเรือไม่ได้......อิอิ
  • เพิ่มความละเอียดของภาพ Half Breadth Plan ครั้งที่หนึ่งโดยเพิ่มเส้น Water Line เข้าไป ยิ่งใส่มากความถูกต้องจะยิ่งมาก (แต่ขั้นที่หนึ่งนั้นเป็นการนั่งเทียนใส่เข้าไปก่อน...แถวบ้านเรียกว่ามั้วเข้าไปก่อน คือทำให้มีขึ้นมาก่อนนั่นแหล่ะคร๊าบบบ...555) ปัญหาที่พบมีสองอย่างที่ต้องระวังคือ
  • Water Line ที่เพิ่มแต่ละครั้งจะต้องมีช่องว่าง (space) เท่าๆกันวิธีนี้ก็เพียงแค่ใส่ WL.เข้าไปให้ครบก่อนแล้วมาดูว่าจะเฉลี่ยให้ใกล้เคียงยังไง
  • Water Line ที่เพิ่มแต่ละเส้นจะต้องเป็นเส้นโค้งที่สวย (เขียนยังงี๊จะเข้าใจมั้ยเนี่ยะ) คือเป็นเส้นโค้งต่อเนี่องตลอดจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุดโดยไม่มีจุดใดจุดหนึ่งคดอะคร๊าบบบ
  • เพิ่มความละเอียดของภาพ Profile Plan ก็ทำเช่นเดียวกันกับภาพ Half Breadth Plan นั่นแหล่ะครับแตกต่างกันตรงที่เส้นที่เพิ่มเข้าไปไม่ใช่เส้น WL. แต่เป็นเส้นบัตตอค (Buttock Line)

ที่นี้จะรู้ได้ยังไงว่าที่เพิ่มไปนะถูกรึว่าผิด...เพราะเป็นใครก้อต้องสงสัยใช่มั้ยอะว่าที่เพิ่มไปอะมานถูกรึเปล่าหว่า...555555..แน่นอนครับเมื่อเราเขียนทั้งสองภาพเสร็จแล้วเราก็ต้องเก็บข้อมูลของทั้งสองภาพนั้นมาใส่ลง  TOS แล้วนำไปเขียนใส่ภาพ Body Plan เราจะเห็นก็ตอนนี้แหล่ะครับว่าเส้นที่เราใส่เข้าไปคดแค่ไหน  คดมากก็เพี้ยนมาก...แก้มาก...ปัญหามากด้วย คดน้อยก็เพี้ยนน้อย....แก้น้อย....ปัญหาน้อย... ทั้งนี้ทั้งนั้นมานก็เริ่มมาจากตอนที่เพิ่มเส้น   WL. กับเส้น BTL. นั่นแหล่ะครับ มาถึงตรงนี้ก็ต้องบอกว่าสำหรับคนที่มีประสบการณ์มากจะได้เปรียบ(ตรงไหน...อิอิ...ก็คือทำมามาก...เห็นรูปร่างเรือมามาก...เวลาใส่เส้น WL.หรือ BTL. จะมองออกว่าแค่ไหน..ไม่มากไม่น้อย..ทำให้ทำงานออกมาเสร็จเร็ว)สำหรับผมต้องทำขั้นตอนที่ 4 และ 5 ใช้เวลาหมดไปเป็นเดือนเลยนะคร๊าบบบบ....เป็นขั้นตอนที่เหนื่อยใจมั๊กมาก)

มาดูตัวอย่างกันเล็กน้อยครับ....ผมหยิบมาจาก Ship Scale Story 3.1 (ครั้งก่อนเป็นรูปเรือยังจำกันได้มั้ยครับ..แต่ครั้งนี้เอาตารางมาเทียบให้ดูกัน)


       Fig. 1 ผมเอาตารางเปล่ามาโชว์กันให้ดูเรียกน้ำย่อยกันไปก่อนอ่ะคร๊าบบบ..ซึ่งในส่วนบนสุดนั้นเอาไว้แสดง Station หรือชื่อกง นั่นเองคร๊าบบบ ส่วนที่สองเอาไว้แสดงไลน์แปลนภาพด้านข้างของภาพ Profile Plan และส่วนที่สามเอาไว้แสดง วอเตอร์ไลน์ ภาพด้านล่างของภาพ Half Breadth Plan คร๊าบบบ

Fig. 2 เริ่มกำหนดชื่อกง หรือ Station แล้ว สังเกตว่าในรูปจะเริ่มจาก ลบ1 แล้วค่อยเป็นศูนย์ และ หนึ่ง คงสงสัยว่าทำไมไม่เหมือนที่ผมเคยพูดใช่มั้ย ...5555 อย่างที่เคยคุยกันเอาไว้ก่อนหน้านี้อ่ะครับว่าที่ผมเคยทำนั้นเป็นเพียงรูปแบบที่เคยทำงานมาเท่านั้นครับ ไม่ตายตัวเพียงแต่กำหนดเพื่อให้เข้าใจเท่านั้นครับ สรุปเรือลำนี้มีทั้งหมด 13 กง นะคร๊าบบบ

ยังไม่จบนะครับ ยังไม่จบ ( 27-Apr-2015)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment is any interesting.
ความคิดเห็นคือสิ่งที่น่าสนใจ