วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Ship Scale Story 3.1 : Floor and Ship drawing

ซา-หวาด-ดี-คร๊าบ หายไปนานเลยต้องขอโต๊ดด้วยนะคร๊าบบบ....บังเอิญว่าติดงาน(ประจำ)อ่ะคร๊าบบ ซึ่งช่วงนี้ก็ซาลงแล้วจึงรีบกลับมาพบกับพี่ๆน้องๆผู้ติดตามอ่านกัน(แบบว่าเข้าข้างตัวเองเล็กน้อย...อิอิ) วันนี้มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ กับการเขียนแบบเรือ แต่ก่อนอื่นขอพูดเกี่ยวกับการทำงานแบบเรือ ที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟังกันก่อนนะครับ แบบเรือที่ผมพูดถึงนั้นไม่ได้ไปทำในคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เพราะแบบเรือที่ผมทำนั้นมีสเกลอยู่ที่ 1 ต่อ 1 ซึ่งหมายความว่าเมื่อเขียนเสร็จแล้วจะมีขนาดเท่าของจริง (อันนี้ไม่รวมเก๋งเข้าไปด้วยนะครับ แบบที่ทำออกมาสูงที่สุดแล้วเพียงกาบอ่อนเท่านั้น นอกนั้นเขียนในคอมฯได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเขียนแบบกันบนพื้นห้อง ห้องที่ว่าที่ผมเคยทำงานนั้นจริงๆแล้วไม่ใช่ห้องแต่เป็นเรือเก่าที่หมดอายุการใช้งานแล้วซึ่งถูกนำมาดัดแปลง โดยสร้างฐานรองรับเรือไว้สองชิ้น วางระหว่างกลางลำเรือ โดยตีกรอบมิดชิดเพื่อทำเป็นห้องพ้นทราย ชั้นที่สอง(ถ้านับห้องพ้นทรายเป็นชั้นแรกนะ....555)ดัดแปลงเป็นพื้นที่เขียนแบบเรือ และชั้นที่สามดัดแปลงเป็นแผนกไฟฟ้า


พื้นที่ที่ว่าดัดแปลงเป็นพื้นที่เขียนแบบเรือโดยประมาณ กว้าง 7 เมตร ยาว 22 เมตร ภายในพื้นที่นั้นแบ่งตีตารางเป็นเส้นกริด ความถี่ 500 มิลลิเมตร x 500 มิลลิเมตร ทั้งในแนวความกว้างและความยาวเมื่อได้เส้นกริดมาแล้ว เราจะต้องทำการระบุ เส้นกริดที่ตีตารางไว้ บ่งชี้หมายเลขกงหรือเรียกว่า Station เวลาตั้งชื่อจากเส้นซ้ายมือสุดจะเริ่มจากตัวอักษร D, C, Bและ A แล้วค่อยเริ่มเป็น 0, 1, 2, 3 จนไปถึงเส้นกริดสุดท้ายของห้อง


(หมายเหตุ อันนี้เป็นการระบุตามงานที่ผมเคยทำเท่านั้นซึ่งวิธีระบุเป็นอย่างอื่นนั้นก็มีอีกแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเพียงแค่ให้เราเข้าใจเท่านั้นว่าหัวท้ายอยู่ตำแหน่งไหนเท่านั้นคร๊าบบบ)
ในแต่ละ Station นั้นมันจะมีความหมายในตัวเอง ซึ่งระบุได้ดังนี้
1. BHD หรือ Bulkhead หรือ กั้นห้องนั้นเอง
2. Web Frame หรือ โครงถัก
3. Ordinary หรือ กงธรรมดา
4. Frame หรือ โครงเปล่า
ซึ่งที่กล่าวมานี้ได้ให้ความสำคัญตามลำดับแล้ว
และก่อนจะกล่าวต่อไป ขอทบทวน ก่อนว่า VIEW ที่ครั้งก่อนได้พูดถึงไปนั้นมีอะไรบ้าง
1. Body Plan คือ ภาพด้านหน้าและหลัง (วิวนี้แสดงอย่างละครึ่ง)
2. Profile Plan คือ ภาพด้านข้าง
3. Half Breadth Plan คือภาพด้านล่าง


และที่ผมลืมบอกไปเมื่อครั้งก่อนคือ Table of offsets สี่ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบในการแสดงแบบไม่มีถือว่าไม่ครบ อย่างเช่นงานเขียนแบบชนิดอื่นจะสอนเอาไว้ว่า ถ้าเขียนแบบเพียงวิวเดียวแล้วอธิบายความหมายได้ ทำงานได้ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่แบบเรือนั้นไม่ใช่ ที่ต้องมีทุกวิวนั้นเป็นเพราะแต่ละวิวจะตรวจสอบกันเอง ถึงความถูกต้องของเส้นแต่ละเส้นคร๊าบบบ
ในตอนที่เริ่มจะต้องทำแบบนั้น เราจะได้ข้อมูลที่เป็นเส้นมาอยู่ 4-5 ชนิดคือ
1. Keel line คือ แนวเส้นกระดูกงู
2. Chine Line คือ แนวเส้นสันข้างเรือ
3. Sheer Line คือ แนวเส้นโค้งของเรือ
4. Deck at side (Deck line) คือ แนวเส้นดาดฟ้าเรือ
5. Deck edge คือแนวเส้นขอบกราบอ่อน
ถ้าสังเกตุจากรูปตัวอย่างนั้น ( รูป Profile Plan) จะเห็นว่า ในรูปนี้จะไม่มี Sheer line และ Deck edge



และถ้ามาสังเกตุที่รูป Body Plan จะทำให้เราเห็นชัดมากยิ่งขึ้น


ส่วน Table of offsets นั้นเอาไว้คราวหน้าShip Scale Story 3.2 Method adds line and modify ซึ่งผมตั้งใจเอาไว้ว่าน่าจะแยกการอธิบายออกจากกันไม่งั้นอ่านแล้วอาจมึนๆได้ (ข้ออ้างชัดๆ...555...ความจริงคือหมดมุขแหล่ะ) ยังไงช่วยติดตามอ่านกันต่อไปด้วยนะคร๊าบบบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment is any interesting.
ความคิดเห็นคือสิ่งที่น่าสนใจ