วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Ship Scale Story 6.3 Interest Word part 3 : คำศัพท์น่ารู้ตอนที่ 3

สวัสดีเช้าวันศุกร์กันนะครับ วันนี้เอาคำศัพท์ที่เริ่มจะเป็นเรือสมัยใหม่ขึ้นมาฝาก ลองไปดูกันครับว่าน่าสนใจเหมือนครั้งเรือใบรึเปล่า

44. Aft (อัฟท) : ส่วนท้ายเรือ
คือ ส่วนที่อยู่บริเวณท้ายหรือค่อนมาทางท้ายเรือ

45. Boatswain (โบ-เซิน) : สรั่ง
คือ หัวหน้าลูกเรือทั้งหลายก็คือ สรั่ง บางครั้งเรียกสั้นๆว่า โบซัน (Bo’sun)

46. Boiler (บอล-เลอะ) : หม้อน้ำ
คือ ที่บรรจุน้ำซึ่งผนึกไว้แน่น น้ำจะถูกต้มให้กลายเป็นไอ เพื่อไปขับเคลื่อนเครื่องจักร

47. Bridge (บริดจ) : สะพานเดินเรือ
คือ ส่วนยกพื้นที่มีกำบังแดดลมฝน ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายท้ายใช้เป็นที่ทำงาน และควบคุมการเดินเรือ

48. Carrack (คา-แรค) : เรือแคร์แร็ก
คือ รือขนาดใหญ่ในสมัยศตวรรษที่ 14, 15, 16 มีทั้งที่เป็นเรือรบและเรือสินค้า

49. Cabin (เค-บิน) : เคบิน
คือ ห้องพักสำหรับผู้ที่อยู่บนเรือ

50. Compass (คัม-พัซ) : เข็มทิศ
คือ อุปกรณ์ที่มีเข็มแม่เหล็ก ซึ่งชี้ไปทางเหนือตลอดเวลา กะลาสีใช้อุปกรณ์นี้นำทางในการเดินเรือ

51. Frigate (ฟริก-อิท) : เรือฟริเกต
คือ เรือรบขนาดเล็ก

52. Funnel (ฟัน-เน็ล) : ปล่อง
คือ ปล่องขนาดใหญ่ในเรือที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ เพื่อให้เป็นทางออกของควันและไอน้ำจากเครื่องจักรไอน้ำ ปล่องนี้เปิดสู่ฟ้าที่ส่วนบนของเรือ

53. Knot (นอต) : นอต
คือ หน่วยนับอัตราความเร็วของเรือความเร็ว 1 นอตก็คือ 1 ไมล์ทะเล (nautical mile) ต่อชั่วโมง

54. Man-of war (แมน-ออฟ-วอร์) : เรือรบ
คือ เรือลำใหญ่ที่มีอาวุธเพียบพร้อมแล่นด้วยใบเรือ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 และ 19

55. Mate (เมท) : ต้นเรือ
คือ เจ้าหน้าที่เรือที่มีตำแหน่งรองลงมาจากนายเรือในเรือโบราณ


56. Merchant Ship (เมอ-แช็นท ฌิพ) : เรือสินค้า

คือ เรือที่ใช้บรรทุกและขนส่งสินค้า ซึ่งบางครั้งก็ใช้เป็นเรือสำหรับสู้รบด้วย 


57. Propeller (พโระเพล-เลอะ) : ใบจักร
ใบจักรจะถูกติดตั้งอยู่กับเพลา (shaft) ที่อยู่ใต้ระดับน้ำทางด้านท้ายเรือ เครื่องยนต์ของเรือจะหมุนใบจักรให้ตัดน้ำ เพื่อส่งแรงผลักให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

58. Radar (เร-ดา) : เรดาร์
เสาอากาศหมุนได้ที่ส่งสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองไม่เห็นออกไปรอบๆ สัญญาณนี้เมื่อกระทบกับวัตถุใดก็จะสะท้อนกลับมาที่เรือสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะถูกวัดโดยเครื่องกวาดตรวจรับ ซึ่งจะคำนวณระยะห่างของสิ่งนั้นด้วย ชาวเรือใช้เรดาร์ค้นหาเรือลำอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

59. Steam pinnace (ซทีม พิน-เนซ) : เรือเล็กไอน้ำ
เรือลำเล็กที่เรือใหญ่นำไปด้วยสำหรับนำคนจากเรือขึ้นฝั่งใช้เครื่องจักรไอน้ำขับเคลื่อนให้แล่นไป

60. Trawler (ทรอล-เออะ)  : เรือลากอวน

เรือหาปลาขนาดใหญ่ที่ชาวประมงใช้ออกไปจับปลาในทะเล โดยใช้อวนหรือตาข่ายขนาดใหญ่เป็นเครื่องมือกวาดจับปลา

จบด้วยคำที่ 60 พอดีเลย ขอบคุณครับที่อ่านมาถึงตรงนี้

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

Ship Scale Story 3.2 : Method adds line and modify

Method adds line and modify

ผมขอแป่ะโป้งตอนนี้เอาไว้ก่อนนะครับ...เพระยังทำเนื้อหาไม่สมบูรณ์เลยยังไม่ได้เอามาลงให้อ่านกัน ( 17-Apr-2015)

หวัด-ดี คร๊าบบ ช้านานมากเลยสำหรับบทความนี้ กว่าจะคลอดออกมาได้เป็นเพราะผมเองยังไม่แน่ใจว่าเขียนออกมาแล้วจะเข้าใจกันมั้ยอ่ะคร๊าบบ
อืมมม...ต่อจากตอนที่แล้วที่จบลงตรง Table of Offsets ในการระบุ Table of Offsets (ต่อไปผมขอเรียกเป็น TOS นะครับ) จะแบ่งเป็นสองคอลัมน์ใหญ่ คอลัมน์แรกเป็นข้อมูลมาจากภาพ Profile Plan ส่วนคอลัมน์ที่สองเป็นข้อมูลมาจากภาพ Half Breadth Plan ซึ่งมาถึงตรงนี้ผมขอย้อนกลับไปพูดถึงตอนทำงานกันหน่อย

  • เราได้ข้อมูลเบื่องต้น(ได้พูดไว้แล้วใน Ship Scale Storyตอนที่3.1) ของภาพ Half Breadth Plan
  • เราได้ข้อมูลเบื่องต้นของภาพ Profile Plan
  • เราต้องนำข้อมูลทั้งสองภาพมาเขียนเป็นภาพ Body Plan เมื่อเสร็จเท่าที่กล่าวมานี้ยังไม่ถือว่าทำเสร็จนะคร๊าบบบ..ถือว่าได้องค์ประกอบของภาพมาครบเท่านั้นยังเอาไปทำเรือไม่ได้......อิอิ
  • เพิ่มความละเอียดของภาพ Half Breadth Plan ครั้งที่หนึ่งโดยเพิ่มเส้น Water Line เข้าไป ยิ่งใส่มากความถูกต้องจะยิ่งมาก (แต่ขั้นที่หนึ่งนั้นเป็นการนั่งเทียนใส่เข้าไปก่อน...แถวบ้านเรียกว่ามั้วเข้าไปก่อน คือทำให้มีขึ้นมาก่อนนั่นแหล่ะคร๊าบบบ...555) ปัญหาที่พบมีสองอย่างที่ต้องระวังคือ
  • Water Line ที่เพิ่มแต่ละครั้งจะต้องมีช่องว่าง (space) เท่าๆกันวิธีนี้ก็เพียงแค่ใส่ WL.เข้าไปให้ครบก่อนแล้วมาดูว่าจะเฉลี่ยให้ใกล้เคียงยังไง
  • Water Line ที่เพิ่มแต่ละเส้นจะต้องเป็นเส้นโค้งที่สวย (เขียนยังงี๊จะเข้าใจมั้ยเนี่ยะ) คือเป็นเส้นโค้งต่อเนี่องตลอดจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุดโดยไม่มีจุดใดจุดหนึ่งคดอะคร๊าบบบ
  • เพิ่มความละเอียดของภาพ Profile Plan ก็ทำเช่นเดียวกันกับภาพ Half Breadth Plan นั่นแหล่ะครับแตกต่างกันตรงที่เส้นที่เพิ่มเข้าไปไม่ใช่เส้น WL. แต่เป็นเส้นบัตตอค (Buttock Line)

ที่นี้จะรู้ได้ยังไงว่าที่เพิ่มไปนะถูกรึว่าผิด...เพราะเป็นใครก้อต้องสงสัยใช่มั้ยอะว่าที่เพิ่มไปอะมานถูกรึเปล่าหว่า...555555..แน่นอนครับเมื่อเราเขียนทั้งสองภาพเสร็จแล้วเราก็ต้องเก็บข้อมูลของทั้งสองภาพนั้นมาใส่ลง  TOS แล้วนำไปเขียนใส่ภาพ Body Plan เราจะเห็นก็ตอนนี้แหล่ะครับว่าเส้นที่เราใส่เข้าไปคดแค่ไหน  คดมากก็เพี้ยนมาก...แก้มาก...ปัญหามากด้วย คดน้อยก็เพี้ยนน้อย....แก้น้อย....ปัญหาน้อย... ทั้งนี้ทั้งนั้นมานก็เริ่มมาจากตอนที่เพิ่มเส้น   WL. กับเส้น BTL. นั่นแหล่ะครับ มาถึงตรงนี้ก็ต้องบอกว่าสำหรับคนที่มีประสบการณ์มากจะได้เปรียบ(ตรงไหน...อิอิ...ก็คือทำมามาก...เห็นรูปร่างเรือมามาก...เวลาใส่เส้น WL.หรือ BTL. จะมองออกว่าแค่ไหน..ไม่มากไม่น้อย..ทำให้ทำงานออกมาเสร็จเร็ว)สำหรับผมต้องทำขั้นตอนที่ 4 และ 5 ใช้เวลาหมดไปเป็นเดือนเลยนะคร๊าบบบบ....เป็นขั้นตอนที่เหนื่อยใจมั๊กมาก)

มาดูตัวอย่างกันเล็กน้อยครับ....ผมหยิบมาจาก Ship Scale Story 3.1 (ครั้งก่อนเป็นรูปเรือยังจำกันได้มั้ยครับ..แต่ครั้งนี้เอาตารางมาเทียบให้ดูกัน)


       Fig. 1 ผมเอาตารางเปล่ามาโชว์กันให้ดูเรียกน้ำย่อยกันไปก่อนอ่ะคร๊าบบบ..ซึ่งในส่วนบนสุดนั้นเอาไว้แสดง Station หรือชื่อกง นั่นเองคร๊าบบบ ส่วนที่สองเอาไว้แสดงไลน์แปลนภาพด้านข้างของภาพ Profile Plan และส่วนที่สามเอาไว้แสดง วอเตอร์ไลน์ ภาพด้านล่างของภาพ Half Breadth Plan คร๊าบบบ

Fig. 2 เริ่มกำหนดชื่อกง หรือ Station แล้ว สังเกตว่าในรูปจะเริ่มจาก ลบ1 แล้วค่อยเป็นศูนย์ และ หนึ่ง คงสงสัยว่าทำไมไม่เหมือนที่ผมเคยพูดใช่มั้ย ...5555 อย่างที่เคยคุยกันเอาไว้ก่อนหน้านี้อ่ะครับว่าที่ผมเคยทำนั้นเป็นเพียงรูปแบบที่เคยทำงานมาเท่านั้นครับ ไม่ตายตัวเพียงแต่กำหนดเพื่อให้เข้าใจเท่านั้นครับ สรุปเรือลำนี้มีทั้งหมด 13 กง นะคร๊าบบบ

ยังไม่จบนะครับ ยังไม่จบ ( 27-Apr-2015)



วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Ship Scale Story 10 : Feeling

เสน่ห์ (Charm) ลุ่มหลง (Infatuated) เหนื่อยล้า (Weary)
                 หากคนเราจะพูดถึงคำสามคำอย่างข้างต้นผมเชื่อว่า ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นที่ต่างกันออกไป ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ทำ เรื่องที่ชอบ รึแม้กระทั้งเรื่องที่จำเป็น แต่ไม่ว่าจะทางไหนทุกคนย่อมมีมุมมองเป็นของตัวเองแน่นอน และมุมมองก็เป็นตัวผลักดันเราให้เดินไปข้างหน้า
                   เสน่ห์ ของงานสร้างเรือจำลอง สำหรับผมมีหลายอย่างนะ ไม่ว่าจะเป็นงาน Handmade คือใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Hand tool มาเป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าขั้นตอนเหล่านั้นจะเพื่อ ลอกแบบ ตัดไม้ เหลาไม้ ขัดไม้ ไสไม้ ติดตั้ง ผมเชื่อว่ามือของเรานั้นสามารถสร้างสิ่งต่างๆได้มากมาย เสน่ห์จะเกิดขึ้นเองจากการที่เราใส่ใจในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจุดที่ลงมือทำนั้นจะเล็กรึใหญ่ ใส่ลงไปเหมือนๆกันครับ เสน่ห์อีกแบบคือยามที่ได้เฝ้ามอง เมื่อถึงตอนที่เรือได้ถูกตั้งโชว์ในจุดที่เหมาะ กับแสงไฟที่ส่องมากระทบกับตัวเรือ ดูเหมือนว่าเธอเหล่านั้นจะเปร่งประกาย ยังไงบอกไม่ถูกอะ...อิอิอิ


                   ลุ่มหลง ของงานสร้างเรือจำลอง สำหรับผมอาจไม่เหมือนชาวบ้านเขานะครับ มันออกแนวโรคจิตนะผมว่า ผมจะรู้สึกดีทุกครั้งที่ผมใช้ใบมีดกีดลงบนเส้นที่ลอกแบบ (pattern) เวลาปลายใบมีดวิ่งไปบนกึ่งกลางของเส้น อืมมมม มันฟินยังไงไม่รู้ ไม้ (กงเรือ) ก็เหมือนกันยิ่งหนาแล้วยังตัดได้ตามเส้นอยู่ก็ฟิน เวลาที่ฟันใบเลื่อยค่อยๆไหลลงไปเฉือนกินเนื้อไม้บนกึ่งกลางเส้นที่ขีดเอาไว้นี่สุดๆ (แต่เหนื่อย) แต่ที่กีดตรงเนื้อเรือนั้นยากสุดแหล่ะ เพราะไม่ได้กีดบนผิวราบ แต่กีดบนผิวโค้งนี่สิ ต้องใจเย็นค่อยลากปลายใบมีด จะกดที่เดียวขาดก็ยากเกินไป เดี๋ยววิ่งตามแรงมือกินเนื้อเรือไปถึงไหนต่อไหนซวยกันไปใหญ่ 555
                   เหนื่อยล้า ของงานสร้างเรือจำลอง สำหรับผมคงมีอย่างเดียวคือ งานขัด ครับ ผมใช้เวลากับงานขัดเรือสำเภาต่อลำไปประมาณเกือบ 10 ชั่วโมงได้ นี่น่าจะเป็นเวลารวม (อย่างน้อย) ของการขัดมือทั้งหมดของผม ตั้งแต่ขัดแต่งกงเรือ ขัดเนื้อเรือกับดาดฟ้าครั้งที่หนึ่งและสอง ขัดผนังเก๋งและท้ายเรือ หางเสือ ช่องหน้าต่าง ประตู ปืนใหญ่ รอก ขอบบัว ราโท แม่ลูกกรง ระเบียง ผนังด้านนอกและหลังคาเก๋งท้าย เสากระโดงเรือ ทวนใบเรือ ฐานวาง ผมขัดทั้งหมดสามเบอร์ 120 220 และ 600 เพราะฉะนั้นแต่ละด้านที่ขัดจะไม่ต่ำกว่าสามรอบ ยิ่งตอนเดินกาวเพื่อกลบรอยต่อของเนื้อเรือนี่ ใบมีดขูดเอาเลย เล่นเอาขาวเต็มกางเกงหมดแหล่ะครับ จากที่พูดมาเชื่อมั้ยครับว่าเหนื่อย เมื่อย ล้า จริงๆ วันนี้ก็หมดแรงเขียนเช่นกัน สวัสดีครับผม