วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Ship Scale Story 7 : การทำแม่ลูกกรงครับ

หวัดดีครับผม...เมื่อวานคุณหน่อง required มาว่า ชุดกลึงของผม มีหน้าตาเป็นเช่นไรครับผม...ก็เอามาลงให้ดูกันนะครับแต่อย่าขำกันนะครับ
Hello everybody, Khun Hnong has requesting to my lathe set on yesterday. Today I want to shown but do not laugh my lathe set.


ขั้นแรกครับ กับการ Layout สัดส่วนที่ต้องการโค้งเว้า ตามที่เรา ออกแบบไว้ก่อนครับผม
First step : Shape is layout to curved and concave as my design.


ขั้นที่สองครับ ปรับแต่งผิวให้เรียบครับผม...เพื่อเวลาเราหมุนแกนไม้จะได้เรียบสม่ำเสมอครับ
Second step : Preparation has surface on head to be perpendicular because when you has turn around axis of teak rod. It will be smooth and easy.


ขั้นที่สามครับ อันนี้ผมใช้ตะไบสามเหลี่ยมครับเพื่อทำบ่าด้านบนของหัวแม่ลูกกรงครับ
Third step : I'm using triangle sharpen for nook around on head.


ขั้นที่สี่ครับ ต้องขอโทษด้วยครับที่ตอนใช้ตะไบหางหนูแต่งตกร่องไม่มีครับแฮะๆๆ ส่วนรูปนี้เป็นการแต่งหัวแม่ลูกกรงให้กลมครับผม
Fourth step : I'm sorry for step of use circular sharpen for curved. I have not the photo. For this picture is preparing head of railing to half circle.


อันนี้ก็เช่นกันกับขั้นตอนข้างบนครับ
This is also same upper step.


เมื่อเสร็จแล้วก็ตัดครับผม
When you have finish, you shall be cutting.


ตัดเสร็จเป็นที่เรียบร้อยครับ
It has already done.


และทั้งหมดก็เอามาเรียงดูเล่นๆก่อนนำไปเก็บเข้าในกล่องรอเอาไปประกอบที่หลังคร๊าบบบบ
And all complete, it has managed to look at something for fun before kept in the box. It's waiting assembly in to the next time.

และก็จบ สำหรับขั้นตอนย่อยๆที่คุณหน่องถามมาครับผม....ขอบคุณคร๊าบบบบ
And finish for sub-method at Khun Hnong has asked me....Thank you for your asked me...Bye!!!

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Ship Scale Story 6.2 Interest Word part 2 : คำศัพท์น่ารู้ตอนที่ 2

สวัสดีครับผม...วันนี้มาว่ากันต่อเรื่องคำศัพท์ที่น่าสนใจตอนท้ายกันเลยนะครับ หลังจากที่ครั้งก่อนมีผู้ให้ความสนใจอ่านกันไปพอสมควรวันนี้เลยคิดว่าเอามาลงให้หมดเลยจะดีกว่าสำหรับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเรือใบครับผม ซึ่งบางเนื้อหาผมอาจจะสอดแทรกความเป็นตัวเองมากไปหน่อยก็ต้องขอโทษด้วยนะครับเอาเป็นว่าตอนนี้ตามผมมาดูกันเลยดีกว่าครับผม

23. Keel (คีล) : กระดูกงูเรือ
คือ ส่วนที่เป็นโครงแข็งที่วางตลอดแนวยาวของท้องเรือด้านในนับเป็นกระดูกสันหลังของเรือ อันนี้ผมเอาเรือฉลอมมาเปลื่อยให้ดูกันครับผม


24. Mainmast (เมน-มาซท) : เสาใบใหญ่
คือ เสากระโดงที่ตั้งอยู่บนดาดฟ้ากลางลำเรือโบราณที่แล่นด้วยใบ ภาษาราชนาวีเรียกว่า เสาบาละ



25. Man-of-war (แมน-อ๊อฟ-วอร์) : เรือรบ
คือ เรือลำใหญ่ที่มีอาวุธเพียบพร้อมแล่นด้วยใบเรือ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 และ 19

26. Mizzen mast (มีส-เสน มาซท) : เสาใบหลังใหญ่
คือ เสากระโดงที่ตั้งอยู่ท้ายเรือ ภาษาราชนาวีเรียกว่า เสาเสท



27. Poopdeck (พูพ-เด็ค) : เก๋งท้าย, บาหลี

คือ ส่วนที่ยกพื้นให้สูงอยู่ทางท้ายเรืออาจทำเป็นห้องเล็กๆ




28. Port (โพท) : กราบซ้าย
คือ กราบด้านซ้ายของเรือ ถ้าใช้เป็นคำสั่งมีความหมายว่า "หันซ้าย" ได้อีกด้วย



29. Prow (พเรา) : หัวเรือ
คือ ส่วนของตัวเรือที่ยื่นออกไปตรงหน้าสุดของหัวเรือไม้ อันนี้ขอยืมหน่อยนะครับคุณลุงสุรศักดิ์



30. Quarterdeck (ควอ-เทอะ-เด็ค) : ดาดฟ้าท้ายเรือ
คือ ดาดฟ้ายกพื้นที่อยู่ทางท้ายของเรือใบ เช่นกันอีกแล้วอันนี้ก็ยืมคุณลุงสุรศักดิ์นะครับ



31. Ram (แร็ม) : ทวนหัวเรือ
คือ แท่งเหล็กหรือแท่งไม้แหลมที่ติดไว้ที่หัวเรือใต้ระดับน้ำ มีในเรือไม้สมัยโบราณ ใช้เป็นอาวุธชนท้องเรือศัตรูให้ทะลุ อันนี้ให้สังเกตุตรงหัวเรือด้านล่างแหลมๆน่ะครับ ตรงนั้นแหล่ะครับ ถ้าใครได้ดู Clash of the Titan อาจจะจำกันได้นะครับ

32. Rigging (ริก-กิ้ง) : สายระโยง

คือ เชือกหรือลวดที่ใช้ยึดใบและเสาบนเรือใบสมัยโบราณ เชือกเยอะดีนะครับ 5555



33. Rudder (รัด-เดอะ) : หางเสือ
คือ เป็นไม้หรือโลหะแผ่นใหญ่ที่ติดไว้กับเสาท้ายเรือในลักษณะบานพับใช้หมุนไปทางซ้านหรือขวา เพื่อเปลี่ยนทิศทางเดินเรือ


34. Shipwright (ฌิพ-ไรท) : ช่างต่อเรือ
คือ ผู้มีอาชีพต่อเรือ

35. Starboard (สตาร์-โบด) : กราบขวา
คือ กราบด้านขวาของเรือ ถ้าใช้เป็นคำสั่งมีความหมายว่า "หันขวา"


36. Stem (ซะ-เท็ม) : ทวน
คือ ส่วนที่แคบที่สุดของหัวเรือเป็นส่วนแหวกน้ำเมื่อเรือเคลื่อนที่ (ผมเห็นว่าตอนยังไม่เสร็จก็สวยเหมือนกันเลยเอามาลงกับศัพท์คำนี้เลย)


37. Stern (ซะ-เทริน) : ท้ายเรือ
คือ ส่วนที่อยู่ทางด้านท้ายของเรือ

38. Sail (เซล) : ใบเรือ
คือ ผ้าใบผืนใหญ่ที่ขึงไว้บนเสากระโดงของเรือโบราณใช้รับแรงลมเพื่อผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้า ใบเรือแต่ละใบจะมีชื่อเรียกตามเสาที่ขึงไว้ถ้าผมเข้าใจตามนี้ไม่ผิด
ใบเรือเสาหน้าก็ต้องเรียกว่า ใบเรือตังเกต
ใบเรือเสาใหญ่ก็ต้องเรียกว่า ใบเรือบาละ และ
ใบเรือเสาท้ายก็ต้องเรียกว่า ใบเรือเสท


39. Tiller (ทิล-เลอะ) : พังงาหันหางเรือ
คือ ส่วนที่ต่อจากหางเสือ ซึ่งอยู่นอกเรือเข้ามาในเรือ เมื่อหมุนพังงาหันหางเสือ หางเสือก็เคลื่อนด้วย มักใช้กับเรือเล็ก (อันนี้ก็ฉลอมอีกแล้วครับ)


40. Waterline (วอ-เทอะ-ไลน) : ระดับน้ำ
คือ ระดับของน้ำที่ข้างเรือ (ศัพท์คำนี้ทำให้นึกถึงตอนทำงานต่อเรือเหล็กเลยครับ...เอา เอก  วันนี้ตอนเย็นทำโอ ไปตอกระดับน้ำด้วยนะ ตอกดีๆหล่ะ เดี๋ยวช่างเชื่อมๆไม่ติด...เหนื่อยได้ใจ เสียวๆเสียว)

41. Wheel (ฮวีล) : พังงา
คือ มีลักษณะเป็นวงเหมือนพวงมาลัยรถยนต์ เมื่อหมุนพังงาของเรือ ก็จะหมุนหางเสือและควบคุมทิศทางของเรือได้


42. Whipstaff (ฮวิพ-ซทัฟ) : คันหันหางเสือ
คือ คันโยกขนาดยักษ์ที่ต่อจากปลายของแกนหางเสือออกมา พบในเรือไม้สมัยโบราณ ลูกเรือจะโยกคันหันหางเสือ เพื่อหมุนแกนหางเสือ


43. Yard (ยาร์ด) : พรวน
คือ เสาไม้ที่ผูกขวางเสากระโดง เพื่อขึงใบเรือ เรือลำเล็กๆจะมีพรวนเพียง 1 พรวน แต่เรือใหญ่จะมีพรวนหลายพรวน


และแล้วก็หมดจนได้กับคำศัพท์ที่ผมคิดว่าน่าสนใจเกี่ยวกับเรือใบ หวังเหลือเกินว่าจะถูกใจพี่ๆน้องๆที่ให้ความสนใจเข้ามาอ่านกัน เอาเป็นว่าครั้งน่าเราคุยเรื่องสายโยงกันอีกทีดีกว่าว่าสายระโยง(หรือเชือกนั่นเอง)แต่ละจุดนั้นเรียกว่าอะไรกันบ้างนะคร๊าบบบวันนี้สวัสดีคร๊าบบบบผมมมมมม......

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Ship Scale Story 6.1 : Interest Word part 1 : คำศัพท์น่ารู้ตอนที่ 1

สวัสดีครับผม...วันนี้ผมเอาคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรือมานำเสนอครับ ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่มีความชื่นชอบและให้ความสนใจเกี่ยวกับเรือย่อมที่จะต้องการเรียกชื่อส่วนประกอบต่างๆของเรือได้อย่างถูกต้องและเข้าใจถึงรูปลักษณ์หน้าตาของส่วนประกอบนั้นๆด้วย เพราะตัวผมเองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกันเอาเป็นว่าตอนนี้ตามผมมาดูกันเลยดีกว่าครับผม ต้องขออนุญาตก่อนว่าจะขอเรียงตามตัวพยันชนะภาษาอังกฤษนะครับ

1. Aft (อัฟท) : ส่วนท้ายเรือ
คือ ส่วนที่อยู่บริเวณท้ายหรือค่อนมาทางท้ายเรือ


2. Amidships (อะมีด-ฌิพซ) : ตอนกลางเรือ
คือ บริเวณกลางลำเรือ


3. Anchor (แอง-เคอะ) : สมอ
คือ อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากที่ผูกถ่วงไว้ที่ปลายเชือกหรือโซ่ ใช้โยนลงไปทางกราบเรือเพื่อให้เกาะยึดอยู่กับพื้นท้องทะเล ป้องกันมิให้เรือลอยไป



4. Ballast (แบล-ลัซท) : อับเฉา
คือ หิน หรือ ตะกั่ว หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักมากบรรจุลงในระวางเรือ เพื่อถ่วงให้เรือสมดุลเมื่อลอยอยู่ในน้ำ

5. Bow (โบ) : หัวเรือ
คือ ส่วนหน้าสุดของส่วนหัวเรือ



6. Bowsprit (โบ-ซปริท) : เสานอน
คือ เป็นเสาคล้ายทวน (spar) ที่ยื่นออกมาจากหัวเรือ มีใบเสานอนแขวนอยู่



7. Broadside (บรอด-ไซด์) : การยิงปืนกราบเดียว
คือ การยิงปืนพร้อมกันทั้งหมดทางกราบเรือด้านเดียว

8. Bulkhead (บัล-เฮด) : ผนังผนึกน้ำ (ภาษาช่างไทยเรียกว่ากั้นห้อง)
คือ ผนังภายในท้องเรือที่กั้นเรือให้เป็นช่องๆเป็นการกักน้ำไม่ให้ผ่านเข้าไปในส่วนอื่นของเรือเมือเกิดเหตุการณ์ท้องเรือแตกเรือจะไม่จมภายในทันทีผนังผนึกน้ำจะช่วยประวิงเวลาให้ลูกเรือสามารถหนีลงเรือเล็กหรือสิ่งของจำเป็นได้ทันท่วงที



9. Bulwark (บูล-เวิค) : กราบอ่อน
คือ ส่วนของเนื้อเรือที่ประกอบขึ้นสูงกว่าดาดฟ้าเรือ



10. Capstand (แค๊พ-ซแท็น) : กว้าน
คือ เครื่องมือหมุนที่ใช่ลากสิ่งที่มีน้ำหนักมากๆ เช่น สมอ



11. Carvel built (คาร์เวล บิลท) : ตัวเรือแบบคาร์เวล
คือ การปูเนื้อเรือโดยนำไม้กระดานมาเรียงต่อกัน ให้ขอบต่อขอบจรดกันแนบสนิท

12. Clinker built (คลิงเกอร์ บิลท) : ตัวเรือแบบคลิงเกอร์
คือ การปูเนื้อเรือโดยนำไม้กระดานมาเรียงให้ขอบซ้อนกัน

13. Cog (คอก) : เรือค็อก
คือ เรือชนิดหนึ่งในราวศตวรรษที่ 13 พัฒนาจากเรือที่มีรูปร่างยาว เช่น เรือไวกิ้ง ให้ภายในตัวเรือกว้างและลึกมากขึ้น มีหางเสือช่วยบังคับทิศทางเรือได้ดียิ่งขึ้น หัวและท้ายเรือมีเก๋งทำเป็นยกพื้นแบบง่ายๆ

14. Deck (เด็ค) : ดาดฟ้าเรือ
คือ พื้นที่ราบตามแนวยาวหรือขวางตั้งอยู่ตอนบนของเรือ



15. Forward (ฟอร-เวิด) : ส่วนหัวเรือ
คือ ส่วนที่อยู่ค่อนมาทางด้านหน้าเรือ


16. Forecastle or fo 'c'sle (โฟค-คาส-เทิล) : เก๋งหน้า
คือ เป็นยกพื้นใช้สู้รบอยู่ที่บริเวณหัวเรือ ในสมัยใหม่จะเป็นส่วนที่มักจัดเป็นห้องพักของลูกเรือ


17. Foremast (โฟ-มาซท) : เสาหน้า
คือ เสากระโดงที่อยู่หน้าเสาใหญ่ ภาษาราชนาวีเรียกว่า เสาตังเกท



18. Gunport (กัน-พอร์ท) : ช่องปืน
คือ ช่องที่เจาะไว้ด้านข้างของเรือเพื่อให้ปืนใหญ่โผล่ปากกระบอกปืนยิงออกไปได้



19. Helmsman (เฮ็ลม-ซแมน) : คนถือหางเสือ
คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ

20.Hull (ฮัล) : ตัวเรือ
คือ ส่วนที่ห่อหุ้มตัวเรือด้านนอกหรือเนื้อเรือที่ผมมักเอ่ยถึงบ่อยๆครับ



21.Hold (โฮลด) : ระวาง
คือ ช่องว่างภายในท้องเรือใช้สำหรับเก็บสินค้าและเสบียง



22.Junk (จั๊งค์) : เรือสำเภา
คือ เรือเดินทะเลแล่นด้วยใบของจีนใช้ไม้ไผ่ทำโครงใบเรือ



เป็นอย่างไรบ้างครับผมสำหรับคำศัพท์ในส่วนแรกที่เกี่ยวกับเรือโบราณหรือจำพวกเรือใบ ผมคิดว่าทุกท่านจะพอใจกับคำศัพท์ที่หามาซึ่งผมยังมี part 2 ให้ได้ตามอ่านกันต่อ....ซึ่งบางคำผมหาภาพมาเสริมไม่ได้ต้องขอโทษด้วยนะคร๊าบบบผม...โปรดติดตามอ่านกันต่อไปนะคร๊าบบบบ...วันนี้หวัดดีครับ

รึจะอ่านตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับผม












วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Ship Scale Story 5 : คุณลุงสุรศักดิ์ เผ่าโนรี




หวัดดีคร๊าบบบ.....วันนี้ผมมีโอกาศได้แวะไปเยี่ยมไปเยือน คุณลุงสุรศักดิ์ เผ่าโนรี ที่ดอนเมืองมาครับผมหลังจากที่ได้ห่างหายจากการสอนมาได้สักระยะ...ลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ถามถึงว่า...คุณลุงสุรศักดิ์เป็นอย่างไรบ้าง



แหมพูดไปก็น่าเสียดายครับที่ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งเดือน ผมไม่มีโอกาศไปร่วม meeting กลับคุณลุงที่บ้าน เรวดี(สถานที่เปิดสอนการต่อเรือจำลอง) ก็ได้แต่หวังว่าคราวหน้าถ้ามี meeting อีกจะได้ไปร่วมซ่ะหน่อยครับ
เข้าเรื่องสาระทุกข์สุขดิบ ไปถึงก็เห็นอาจารย์นั่งทำเรือ ลากจูงอยู่..เข้าไปก็โอเคจากครั้งก่อนที่มา เพราะว่าน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วยังคงทิ้งล่องลอยให้เห็นได้อย่างชัดเจน ครั้งนั้นทำเอา คุณลุง ต้องหนี้น้ำไปอยู่ที่บ้าน เรวดี แทบไม่ทัน ซึ่งตอนนี้ก็ปรับปรุงไปได้เกือบทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่เรียบร้อยดี
คุณลุงบอกว่าตอนนี้ซ่อมบ้านไปด้วย พักบ้าง แล้วก็ต่อเรือไปบ้าง (แหมทำหลายอย่างไม่กลัวเหนื่อยเลยนะคร๊าบบบ) ซึ่งตอนนี้กำลังนั่งปลุกปั้นเรือลากจูงจะให้เสร็จอย่างที่คิดให้ได้แล้ว ค่อยไปลุยกันต่อกับเรือ ซานตามาเรีย เรือที่ โคลัมบัส ใช้สำรวจเจอทวีปอเมริกา ครับผม
คุณลุงสุรศักดิ์ยังฝากมาอีกครับว่าช่วงนี้รับต่อเรือจำลองอยู่เช่นเคยตามรายละเอียดด้านล่างครับผม.....



ส่วนรูปภาพของเรือที่รับต่อนั้นมีดังนี้ครับผม....
เรือสำเภาพาณิชย์เก๋ง 3 ชั้น.....
รายละเอียด : เรือสำเภาพาณิชย์เก๋ง 3 ชั้น สเกล 1:70 มีขนาดยาว XXX มม. ราคา 13,990 บาท
รายละเอียด : เรือสำเภาพาณิชย์เก๋ง 3 ชั้น สเกล 1:50 มีขนาดยาว XXX มม. ราคา 17,990 บาท


 
งั้นเรามา review ด้านข้างกันก่อนเลยดีกว่าครับจุดเด่นเห็นๆครับกับ เก๋ง 3 ชั้น

 ต่อด้วยการโฟกัสไปที่ตัวเก๋งเรือกันให้ชัดๆไปเลยครับ มีบันไดห้อยลงมาด้วยทั้งสองด้านครับ

 ภาพนี้กับทางเข้าด้านในครับผม และกว้านเก็บเชือกทั้งสองด้านหน้าเก๋งชั้นล่างคร๊าบบบบ

 และมาถึงช่องเก็บสินค้า เสบียง หรือ tank deck ครับผม

 เมื่อกี๊ดูด้านล่างไป.....คราวนี้ซูมเข้ามาที่ด้านชั้นสองครับ.....

มายนโฉมกับภาพกึ่งด้านหน้าขวากันอีกรอบครับผม

ท้ายเรือสำเภาพาณิชย์เก๋ง 3 ชั้นเข้ารูปโค้งมนครับ

และแล้วก็ต้องมาโชว์เรือเล็กสำหรับยามฉุกเฉินครับผม พร้อมกับโชว์ดาดฟ้าชั้นบนสุดไปด้วยเลย

จบด้วย สมรคู่ครับผม

เรือสำเภาพาณิชย์ หัวมังกรท้ายปลา
รายละเอียด : เรือสำเภาพาณิชย์หัวมังกรท้ายปลา สเกล 1:70 มีขนาดยาว XXX มม. ราคา 11,990 บาท
รายละเอียด : เรือสำเภาพาณิชย์หัวมังกรท้ายปลา สเกล 1:50 มีขนาดยาว XXX มม. ราคา 13,990 บาท

มาดูด้านข้างกันก่อนครับ เห็นหัวปลามังกรมั้ยคร๊าบ......

จัดการเอาเก๋งมาโชว์กันเลยเห็นหลังคาแล้วถึงกับอึ้ง....โค้งได้อีกครับ 

ท้ายเรือครับ...ดูแล้วรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย(ไม่รู้คิดไปเองอะป่าว...55555) 

 
มาเจอปืนใหญ่ครับ...ต้องเข้าใจกันนิดนึงครับว่าสมัยนั้น โจรสลัดมีเยอะมากจึงต้องมีการเตรียมการป้องกันครับผม

อันนี้ดาดฟ้าด้านหัวเรือครับ...และกว้านเก็บเชือกสองด้านเช่นเคย


และปิดท้ายกับสำเภาหัวมังกรท้ายปลา ด้วยระเบียงเก๋งชั้นบนของเรือลำนี้ครับ

เรือเอี้ยมจุ้น
รายละเอียด : เรือเอี้ยมจุ้น สเกล 1:33.33 มีขนาดยาว XXX มม. ราคา 5,500 บาท

ภาพกึ่งด้านหน้าขวา เช่นเคย

ภาพกึ่งด้านหลังซ้ายครับ

ภาพด้านบน

อันนีโดนใจที่สุดแล้วกับหางเสือ

รายละเอียดด้านใน-1ครับ

รายละเอียดด้านใน-2ครับ