วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Ship Scale Story 9.2 : History of shipbuilding

History of shipbuilding part 2 : ประวัติศาสตร์การสร้างเรือ ตอนที่2

              หวัดดีครับไม่ทราบว่าเรื่องราวคราวก่อนพอจะเป็นที่ชื่นชอบกันมั้ยคร๊าบ แต่ว่าอย่ารอช้ากันเลยนะครับผมวันนี้มาต่อกันอีกลำดีกว่าครับ

เรือแมรี่โรส

วันหนึ่งในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1545 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษได้ส่งเรือรบที่ดีที่สุดของพระองค์ออกไปต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสที่มาคุกคามราชอาณาจักร เรือรบที่ยิ่งใหญ่ แมรี่โรส (Mary Rose) เป็นหนึ่งในบรรดาเรือรบอังกฤษที่แล่นออกจากเมืองท่าพอร์ตสมัทในเช้าวันนั้น จู่ๆเรือก็เอียงไปทางกราบขวา น้ำไหลเข้าทางช่องปืนอย่างรวดเร็วจนเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเล ผู้ที่ดูอยู่บนฝั่งรวมทั้งกษัตริย์เฮนรี่ที่ทรงเฝ้ามองจากปราสาทเซาท์ซีต่างตกอกตกใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นเรือและลูกเรือเกือบ 700 คนจมน้ำไปต่อหน้าต่อตา เรือแมรี่โรส จมอยู่ที่ก้นทะเลยาวนานถึง 437 ปีก่อนที่จะมีการกู้ซากเรือขึ้นมา เมื่อทำการสำรวจก็ได้พบสิ่งของหลายร้อยชิ้นที่แสดงให้เห็นชีวิตบนเรือได้อย่างดียิ่ง ในวันที่เรือจมนั้น สันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุมาจากลูกเรืออาจจะชักใบเรือผิด เมื่อเรือเปลี่ยนทิศทางจึงทำให้เรือเอียงไปทางกราบขวา อย่างกระทันหัน พวกทหารและปืนพากันเสียหลักเทน้ำหนักตามไปทางกราบขวาด้วย ยิ่งทำให้เรือเอียงหนักขึ้นจนน้ำทะลักเข้าช่องปืนจนเต็มลำเรือและเรือจมลงในที่สุด

 ลักษณะเด่น

วิธีปูไม้กระดาน เรือลำนี้สร้างขึ้นในช่วง ค.ศ. 1509 – 1511 ตอนแรกตัวเรือปูแผ่นไม้แบบคลิงเกอร์ (Clinker) คือปูซ้อนเหลื่อมกันทำให้ไม่สามารถเจาะช่องปืนได้ ต่อมาปี ค.ศ. 1536 – 1540 ได้มีการรื้อตัวเรือปูแผ่นไม้ใหม่ โดยปูแบบ คาร์เวล (carvel) คือปูไม้เรียงแนบสนิทต่อกันไป ทำให้เจาะช่องปืนได้ เรือลำนี้จึงบรรทุกปืนใหญ่บนดาดฟ้าชั้นล่างได้มากขึ้น

ปืนนานาชนิด บนเรือมีปืนอยู่ประมาณ 91 กระบอก รวมทั้งปืนใหญ่หล่อด้วยเหล็ก 76 กระบอกและทองเหลือง 15 กระบอก บางชนิดเป็นแบบบรรจุลูกปืนทางปากกระบอก บางชนิดบรรจุทางท้ายกระบอก ปืนเหล่านี้จะยื่นปากกระบอกออกมาทางช่องปืน

เก๋งลอยน้ำ ที่ส่วนหัวของเรือทำเป็นหอสูงเรียกว่า เก๋งหน้า (forecastle) ในส่วนท้ายเรือมีเก๋งท้าย (sterncastle) ที่เก๋งสูงเหล่านี้จะติดตั้งปืนต่อสู้ไว้ด้วย

ทหารและพลธนู บนเรือมีทหารและพลธนูเพื่อการต่อสู้แบบประชิดตัว นักดำน้ำที่ลงไปสำรวจซากเรือได้ค้นพบคันธนู ลูกธนู ดาบยาวและดาบสั้น ส่วนเชือกผูกเป็นตาข่ายนั้นป้องกันไม่ให้ศัตรูขึ้นเรือได้ แต่ทว่าในขณะเดียวกันเมื่อเรือจมก็กั้นไม่ให้ลูกเรือหนีออกมาได้ไปด้วย

ตัวเรือ ทำด้วยไม้โอ๊ก กระดูกงูทำด้วยไม้เอล์ม คันธนูทำด้วยไม้ยู

บนเรือ มีครัวหรือห้องพยาบาลและที่บรรทุกสัมภาระ

เรือกว้าง 11.4 ม. (37 ฟุต 5 นิ้ว) เรือยาวกระดูกงู 32 ม. (105 ฟุต)

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Ship Scale Story 9.1 : History of shipbuilding

History of shipbuilding part 1 : ประวัติศาสตร์การสร้างเรือ ตอนที่ 1

ไม่มีข้อมูล = เรือที่ทำจากหนังสัตว์ที่เป่าให้พองลม
ไม่มีข้อมูล = เรือที่ทำจากมัดอ้อ
2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช = เรืออียิปต์
400 ปีก่อนคริสต์ศักราช = เรือไตรรีม ของกรีก
คริสต์ศักราช   200 = เรือสินค้าโรมัน
คริสต์ศักราช   800 = เรือยาวไวกิ้ง
คริสต์ศักราช 1200 = เรือสำเภาจีน
คริสต์ศักราช 1250 = เรือค็อก
คริสต์ศักราช 1536 = เรือแมรี่โรส
คริสต์ศักราช 1620 = เรือเมย์ฟลาวเวอร์
คริสต์ศักราช 1780 = เรือรบหลวง แพนดอร่า
คริสต์ศักราช 1800 = เรือรบแมน ออฟ วอร์
คริสต์ศักราช 1843 = เรือกลไฟ เกรดต บริเทน ตัวเรือทำจากเหล็ก
คริสต์ศักราช 1855 = เรือไอน้ำใบจักรข้าง เปอร์เซีย แล่นข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก
คริสต์ศักราช 1860 = เรือรบหุ้มเกราะ เมอร์รี่แม็ก
คริสต์ศักราช 1905 = เรือประจัญบานเหล็ก เรือรบหลวง เดรดน็อต
คริสต์ศักราช 1942 = เรือรบ เล็กซิงตัน เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
คริสต์ศักราช 1964 = เรือเดินสมุทร เคนเบอร์ร่า
คริสต์ศักราช 1970 = เรือคอนเทนเนอร์ และ เรือลากอวนท้าย
คริสต์ศักราช 1980 = เรือฟริเกต บรรทุกเฮลิคอปเตอร์
คริสต์ศักราช 1990 = เรือเฟอร์รี่ ซีแคต

               สวัสดีครับผมต้องขอโทษอีกตามเคยที่ทิ้งช่วงนานมาก วันนี้ผมได้ชื่อเรือกับปีที่สร้างมา
เลยเอามาลงให้ดูอะครับเผื่อว่าจะมีใครสนใจ แต่ทั้งนี้ผมคิดว่าถ้าผมมีชื่อเรือแบบนี้อีกผมก็จะเอามาลงเพิ่มอีก ส่วนคราวหน้าผมจะพยายามไปสืบเสาะหาเนื้อหา หรือข้อมูลจำเพาะมาลงให้ได้อ่านกันดูนะครับ ส่วนวันนี้ผมขอเสนอเรือไตรรีมเป็นลำแรกนะครับ

เรือไตรรีม
               ลองหลับตานึกถึงเรือรูปร่างเพรียวพุ่งฉิวตรงเข้ามาที่หัวเรือมีดวงตาน่าสพรึงกลัวคู่หนึ่งวาดไว้ เราอาจได้ยินเสียงพายจ้วงน้ำ และเห็นเงาสะท้อนแปลบปลาบของดาบในแสงตะวัน หากเราเป็นศัตรูของชาวกรีกโบราณก็คงต้องตัวสั่นด้วยความหวั่นกลัว เรือแบบนี้เรียกว่าเรือไตรรีม (trireme) เป็นของรัฐเอเธนส์ที่เคยรุ่งเรืองเมื่อราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันยังไม่มีใครพบซากเรือไตรรีมเลย แต่ก็รู้ได้ว่าเรือลำนี้มีรูปร่างอย่างไรโดยศึกษาจากภาพวาดบนแจกันและรูปภาพกรีกบราณจึงทำให้มีผู้สามารถสร้างเรือจำลองขนาดเท่าของจริงขึ้นมาได้ลำหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้

ลักษณะเด่น
- พลกรรเชียงบนเรือไตรรีมจะมีทั้งหมด 170 คน แต่ละคนกรรเชียงพายที่หนักอึ่งพายเป็นจังหวะตามเสียงขลุ่ย
- ที่หัวเรือมียกพื้นไม้เป็นดาดฟ้าเป็นที่ที่นายทหารประจำหัวเรือเรียกว่า โพรเรตีส (prorates) จะนั่งอยู่กับลูกเรือจำนวนหนึ่งคอยรับคำสั่งจากนายท้าย
- เรือไตรรีมได้รับการออกแบบไว้ใช้พุ่งชนเรือข้าศึก โดยใช้ทวนหรือเดือยทำด้วยแก่นไม้หุ้มด้วยโลหะเป็นแง่ 3 แง่ ทะลวงเรือข้าศึกส่วนที่อยู่ใต้น้ำให้จม
- เรือไตรรีมจะมีเสา 2 เสาและใบเรือ 2 ใบ ได้แก่ สาใหญ่และใบเรือใหญ่อยู่ตรงกลางลำเรือ กับเสากระโดงพร้อมใบเรือซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอยู่ทางหัวเรือ โดยปกติแล้วเมื่อเรือไตรรีมเตรียมเข้าทำสงคราม จะปลดใบเรือทิ้งไว้บนบก ส่วนเสากระโดงก็จะถอดวางไว้ในเรือ
- ภายในตัวเรือจะมีเชือกควั่นหนาเรียกว่า ไฮโปโซมา (hypozoma) ขึงตึงจากหัวเรือไปท้ายเรือ เชือกจะดึงไม่ให้ท้ายเรือจม ถ้าเชือกเปียก จะต้องใช้ชะเนาะขันให้ตึงขึ้นอีก
- บนเรือไม่มีครัวหรือห้องน้ำและไม่มีที่บรรทุกสัมภาระเมื่อถึงเวลาอาหารจะต้องนำเรือไตรรีมขึ้นบกเพื่อหุงหาอาหาร
- เรือกว้าง 6 ม. (19 ฟุต 6 นิ้ว) เรือยาว 37 ม. (121 ฟุต) กรรเชียงยาว 4 ม. (13 ฟุต)
- พลประจำเรือ : นายเรือ นายท้าย สลั่ง(หัวหน้ากะลาสี) นายทหารประจำเรือ พลขลุ่ย พลกรรเชียง และทหารประจำเรือ

สุดท้ายเอารูปมาฝากครับแต่ต้องขอโทษด้วยที่รูปไม่ค่อยสมบูรณ์...


และยังตามอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะครับผม

Ship Scale Story 9.2 : History of shipbuilding